แนวข้อสอบมากที่สุด ขายดีอันดับ 1 ในขณะนี้

Tel : 091-8641493

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553

แจกฟรี สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553

แจกฟรี สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
รวบรวมเนื้อหาและสรุปเป็นรายมาตรา สำหรับผู้ที่กำลังสมัรสอบงานราชการ ข้าราชการ พนักงานราชการ หน่วยงานต่างๆ 

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ส่วนที่ 1 บททั่วไป 

  • มาตรา 1 ชื่อพระราชบัญญัตินี้ว่า “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534”

  • มาตรา 2 ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

  • มาตรา 3 ยกเลิกกฎหมายเดิมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 ฉบับ

  • มาตรา 3/1 การบริหารราชการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน มีผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอน ลดภารกิจ กระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น กระจายอำนาจตัดสินใจ อำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบ

  • มาตรา 4 จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น 3 ส่วน คือ

    • ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

    • ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

    • ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

  • มาตรา 5 การแบ่งราชการต้องกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงาน

  • มาตรา 6 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ส่วนที่ 1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง

  • มาตรา 7 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง เป็น 4 ส่วน คือ

    • สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)

    • กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

    • ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

    • กรม หรือส่วนราชการอื่นที่มีฐานะเป็นกรม (ซึ่งอาจสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง)

  • มาตรา 8 การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา 7 ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

  • มาตรา 8 ทวิ การรวมหรือการโอนส่วนราชการ หากไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

  • มาตรา 8 ตรี การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

  • มาตรา 8 จัตวา การยุบส่วนราชการ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

  • มาตรา 8 เบญจ พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 ทวิ หรือมาตรา 8 จัตวา ต้องระบุให้ชัดเจนว่าแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติใดของกฎหมาย

  • มาตรา 8 ฉ การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการอื่น ให้ออกเป็นกฎกระทรวง

  • มาตรา 8 สัตต ให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อ ครม. ในการแบ่งส่วนราชการภายใน

  • มาตรา 8 อัฏฐ การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น

  • มาตรา 9 การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 10 อำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่

    • กำกับการบริหารราชการแผ่นดินทั่วไป

    • มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการ

    • บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่ง

    • สั่งให้ข้าราชการจากส่วนราชการอื่นมาปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีได้

    • แต่งตั้งข้าราชการจากส่วนราชการหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกส่วนราชการหนึ่งได้

    • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาได้

    • แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีได้

    • วางระเบียบปฏิบัติราชการ

    • ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย

  • มาตรา 12 นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนได้

  • มาตรา 13 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมีเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 14 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 15 อาจมีส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 16 สำนักนายกรัฐมนตรีมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ

  • มาตรา 17 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี

หมวด 2 การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง

  • มาตรา 18 จัดระเบียบราชการของกระทรวง เป็น 3 ส่วน คือ

    • สำนักงานรัฐมนตรี

    • สำนักงานปลัดกระทรวง

    • กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (อาจไม่แยกเป็นกรมก็ได้)

  • มาตรา 19 กระทรวงมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 19/1 ปลัดกระทรวง หัวหน้ากลุ่มภารกิจและหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป ต้องวางแผนและประสานกิจกรรมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

  • มาตรา 20 กระทรวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 21 กระทรวงหนึ่งมีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

    • รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง

    • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวงรองจากรัฐมนตรี

    • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง

  • มาตรา 22 สำนักงานรัฐมนตรีมีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 23 สำนักงานปลัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง

  • มาตรา 24 การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวงให้อนุโลมตามการจัดระเบียบราชการของกระทรวง

หมวด 3 การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

  • มาตรา 25 การจัดระเบียบราชการในทบวง ให้เป็นดังนี้

    • สำนักงานรัฐมนตรี

    • สำนักงานปลัดทบวง

    • กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น (อาจไม่แยกเป็นกรมก็ได้)

  • มาตรา 26 การจัดระเบียบราชการในทบวง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 27 ทบวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 28 ทบวงหนึ่งมีปลัดทบวงเป็นผู้รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ

  • มาตรา 29 สำนักงานรัฐมนตรีมีเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 30 สำนักงานปลัดทบวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของทบวง

หมวด 4 การจัดระเบียบราชการในกรม

  • มาตรา 31 กรมอาจแบ่งส่วนราชการดังนี้

    • สำนักงานเลขานุการกรม

    • กอง หรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง (อาจไม่แยกเป็นกองก็ได้)

  • มาตรา 32 กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง

  • มาตรา 33 สำนักงานเลขานุการกรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรม

  • มาตรา 34 กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษ อาจตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งท้องที่ออกเป็นเขตเพื่อให้มีหัวหน้าส่วนราชการประจำเขตก็ได้

  • มาตรา 35 กระทรวง ทบวง หรือกรมใด อาจมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง ทบวง หรือกรมนั้น ก็ได้

  • มาตรา 36 ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม อาจมีเลขาธิการ ผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 37 ให้นำความในมาตรา 31, 32, 33, 34 และ 35 มาใช้บังคับแก่ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมโดยอนุโลม

หมวด 5 การปฏิบัติราชการแทน

  • มาตรา 38 ผู้ดำรงตำแหน่งใดอาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทนได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

  • มาตรา 39 ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น

  • มาตรา 40 ในการมอบอำนาจต้องพิจารณาถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ และผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

  • มาตรา 40/1 ส่วนราชการภายในกรม อาจแยกการปฏิบัติราชการไปจัดตั้งเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษก็ได้

หมวด 6 การรักษาราชการแทน

  • มาตรา 41 กรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 42 กรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 43 กรณีที่ไม่มีเลขานุการรัฐมนตรี ให้ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 44 กรณีที่ไม่มีปลัดกระทรวง ให้รองปลัดกระทรวงเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 45 ให้นำความในมาตรา 44 มาใช้บังคับกับปลัดทบวงและรองปลัดทบวงด้วย

  • มาตรา 46 กรณีที่ไม่มีอธิบดี ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 47 กรณีที่ไม่มีเลขานุการกรมหรือหัวหน้าส่วนราชการ ให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 48 ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน

  • มาตรา 49 การเป็นผู้รักษาราชการแทนไม่กระทบกระเทือนอำนาจของผู้บังคับบัญชา

  • มาตรา 50 ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับทหาร

หมวด 7 การบริหารราชการในต่างประเทศ

  • มาตรา 50/1 นิยาม “คณะผู้แทน” และ “หัวหน้าคณะผู้แทน”

  • มาตรา 50/2 หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี

  • มาตรา 50/3 กรณีที่ไม่มีหัวหน้าคณะผู้แทน ให้รองหัวหน้าคณะผู้แทนรักษาราชการแทน

  • มาตรา 50/4 อำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะผู้แทน

  • มาตรา 50/5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง อธิบดี อาจมอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนปฏิบัติราชการแทนได้

  • มาตรา 50/6 การมอบอำนาจหรือมีคำสั่งใดที่เกี่ยวข้องไปยังหัวหน้าคณะผู้แทน ให้แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

ส่วนที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค

  • มาตรา 51 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็น 2 ส่วน คือ

    • จังหวัด

    • อำเภอ

  • มาตรา 52 ให้รวมท้องที่หลายอำเภอตั้งเป็นจังหวัด

  • มาตรา 52/1 อำนาจหน้าที่ของจังหวัด

  • มาตรา 53 ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

  • มาตรา 53/1 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

  • มาตรา 53/2 ให้นำความในมาตรา 53/1 มาใช้บังคับกับการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย

  • มาตรา 54 ในจังหวัดหนึ่งให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี

  • มาตรา 55 ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัด ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด

  • มาตรา 55/1 ในจังหวัดหนึ่งนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด

  • มาตรา 56 กรณีที่ไม่มีผู้ว่าราชการจังหวัด ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 57 อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด

  • มาตรา 58 การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ

  • มาตรา 59 ให้นำความในมาตรา 48 และ 49 มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทน

  • มาตรา 60 ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้

    • สำนักงานจังหวัด

    • ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น

หมวด 2 อำเภอ

  • มาตรา 61 ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่าอำเภอ

  • มาตรา 61/1 อำนาจหน้าที่ของอำเภอ

  • มาตรา 61/2 ในอำเภอหนึ่งให้มีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท

  • มาตรา 61/3 บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอ หากเป็นความผิดอันยอมความได้ อาจไกล่เกลี่ยได้

  • มาตรา 62 ในอำเภอหนึ่งมีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้า

  • มาตรา 63 ในอำเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอำเภอ ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

  • มาตรา 64 กรณีที่ไม่มีนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอเป็นผู้รักษาราชการแทน

  • มาตรา 65 อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ

  • มาตรา 66 ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้

    • สำนักงานอำเภอ

    • ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น

  • มาตรา 67 ให้นำความในมาตรา 48 และ 49 มาใช้บังคับแก่ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทน

  • มาตรา 68 การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่

ส่วนที่ 3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

  • มาตรา 69 ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครองท้องถิ่น ให้จัดระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น

  • มาตรา 70 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้

    • องค์การบริหารส่วนจังหวัด

    • เทศบาล

    • สุขาภิบาล

    • ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด

  • มาตรา 71 การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

ส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

  • มาตรา 71/1 ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

  • มาตรา 71/2 คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

  • มาตรา 71/3 วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

  • มาตรา 71/4 กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง

  • มาตรา 71/5 กรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ

  • มาตรา 71/6 วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับแต่งตั้งแทน

  • มาตรา 71/7 การประชุม ก.พ.ร.

  • มาตรา 71/8 การปฏิบัติหน้าที่และค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทำงานเต็มเวลา

  • มาตรา 71/9 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

  • มาตรา 71/10 อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.

บทเฉพาะกาล

  • มาตรา 72 คำว่า “ทบวงการเมือง” ให้หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม

  • มาตรา 73 พระราชกฤษฎีกาและประกาศของคณะปฏิวัติเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการ ให้คงใช้บังคับได้ต่อไป

  • มาตรา 74 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายใน ให้ดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปี

  • มาตรา 75 บทบัญญัติใดอ้างถึงประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ให้ถือว่าอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 15 เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 15 เพื่อกำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543

  • เพิ่มเติมมาตรา 8 ทวิ, 8 ตรี, 8 จัตวา และ 8 เบญจ เกี่ยวกับการรวม โอน ยุบเลิก และเปลี่ยนชื่อส่วนราชการ

  • แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 และ 31 เกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการภายใน

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545

  • เพิ่มเติมมาตรา 3/1 เกี่ยวกับหลักการบริหารราชการ

  • เพิ่มเติมส่วนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (มาตรา 71/1 ถึง 71/10)

  • แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8, 10, 15, 16, 18, 19, 20, 21, 32 และ 38

  • เพิ่มเติมหมวด 7 การบริหารราชการในต่างประเทศ (มาตรา 50/1 ถึง 50/6)

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 ในส่วนของชื่อกรมตำรวจและตำแหน่งของข้าราชการตำรวจในกรมการจังหวัด ให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550

  • เพิ่มเติมมาตรา 52/1, 53/1, 53/2, 61/1, 61/2 และ 61/3 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของจังหวัด อำเภอ และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

  • แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 10, 18, 20, 21, 38, 40, 53, 57 และ 71/1

  • กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553

แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 31 วรรคสาม เพื่อให้การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สนใจสั่งซื้อ แนวข้อสอบ  ติดต่อที่
โทร: 091-8641493
Line id:@SHEET888 มี@ด้วยนะคะ